Loading...

หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาจิตวิทยา

เมื่อจบหลักสูตรท่านจะสามารถ

  • ให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่เคารพความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ ที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมและหลักจริยธรรม
  • สื่อสารเพื่อสร้างพลังและแรงจูงใจให้แก่ตนเอง ครอบครัว องค์กรและสังคม
  • ประเมินข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต เพื่อจัดการพัฒนาตนเองและผู้อื่น
  • ผสานหลักคิดทางจิตวิทยาและบูรณาการสหวิชาชีพ ด้วยการพัฒนาโปรแกรมการช่วยเหลือเชิงจิตวิทยาที่ สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ที่แสดงถึงคุณค่าทางจิตวิทยา
  • แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสืบค้นความรู้ใหม่ทางจิตวิทยา
  • ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
  • มีทักษะในการบริหารการศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม
  • ใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการแสวงหาความรู้
  • ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ



ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้)
ศศ.ม.(จิตวิทยา)
Master of Art (Psychology)
M.A.(Psychology)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

จุดยืนหลักสูตร

  1. ศาสตร์จิตวิทยาเป็นหลักในการพัฒนาคนทั้งในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคม
  2. บัณฑิตที่ศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน เพราะจิตวิทยาเป็นศาสตร์แห่งการสร้างเสริมสุขภาวะ
  3. ในสังคมพหุวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะเคารพความต่างทางความคิด วิถีชีวิตและวัฒนธรรม จำเป็นยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความหลากหลายในชาติพันธุ์
  4. แนวโน้มของงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ได้มีการคิดค้นกระบวนการสร้างสันติภาพ

คุณสมบัติของผู้สมัคร

แผน ก 2

  • ผู้สำเร็จการศึกษาระดับไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา ในกรณีที่ได้คะแนนเฉลี่ยหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขา ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาชั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563

แผน ข

  • ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาจิตวิทยา และ/หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขา และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์